จับตาโหวตเลือกนายกฯคนใหม่ 13 ก.ค.นี้ โจทย์ใหญ่เร่งสร้างความเชื่อมั่น

น.ส.ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ต้องติดตามผลโหวตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 ก.คคำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่า. นี้ และช่วงเวลาในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ว่าจะเป็นไปตามกำหนดเดิม หรือล่าช้าหรือไม่ แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจอยู่ระดับไหนอาจยังประเมินไม่ได้ แต่จากข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้ามากเท่าไร และเกิดการประท้วง ไม่เพียงกระทบต่อการเบิกจ่ายภาครัฐแต่ยังกระทบกับความเชื่อมั่นด้วย และอาจกระทบกับจีดีพีไทยเหลือ 2-.2.5% จากคาดจีดีพีปี 66 ไว้ที่ 3.7%

ทั้งนี้สิ่งแรกที่รัฐบาลใหม่เข้าทำคือต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น และนโยบายที่ออกมาต้องไม่ขัดกับเศรษฐกิจและการครองชีพ โดยเศรษฐกิจไทยยังต้องเจอความเสี่ยงในช่วงครึ่งปีหลัง นอกจากการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว ยังรับมือกับทิศทางเศรษฐกิจจีนที่เริ่มเห็นสัญญาณอ่อนแรง โดยคงประมาณการจีดีพีปี 66 ที่ 3.7% และคงตัวเลขการส่งออกไว้ที่ติดลบ 1.2% แต่ปรับลดการบริโภคภาครัฐบาลและการลงทุน เนื่องจากยังอยู่ในช่วงที่รอการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และปัญหาหนี้ครัวเรือนที่มีความซับซ้อน ซึ่งเป็นโจทย์ที่รอการแก้ไขคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ขณะที่เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง จะเห็นภาพการขยายตัวที่ดีกว่าครึ่งปีแรก จากภาคการท่องเที่ยว จะเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 66 ที่ 28.5 ล้านคน และทำให้คาดว่าจีดีพีในช่วงครึ่งปีหลังจะขยายตัว 4.3% จากช่วงครึ่งปีแรกที่ 3% ซึ่งไทยเจอหลายโจทย์สำคัญที่ท้าทายการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนค่าเงินบาทสิ้นปี 66 อยู่ที่ 33.50-34.00 บาทต่อดอลลาร์ และดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้นอีก 1 ครั้งอีก 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% ในปี 66

นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า รัฐบาลใหม่นโยบายต้องชัดเจน นอกจากเรื่องตลาดทุน ต้องมีทั้งค่าแรงขั้นต่ำ มาตรการส่งเสริมตลาดทุน โครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปต่างๆ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว สิ่งสำคัญคือหน้าตารัฐบาล นโยบายเศรษฐกิจต้องชัดเจนและต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น

น.ส.เกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งที่ส่งผลต่อภาคเกษตร ทำให้เสียหาย 4.8 หมื่นล้านบาท หรือ 0.2% ต่อจีดีพี ทำให้ทุกฝ่ายต้องเตรียมรับมือกักเก็บน้ำ ตั้งแต่ไตรมาส 3 ควรสำรองน้ำให้ได้มากที่สุด, มีการใช้น้ำอย่างประหยัดให้มีประสิทธิภาพ และปลูกพืชใช้น้ำน้อยทนแล้งได้ รวมทั้งภาครัฐควรเตรียมรับมือกับไฟป่า และพีเอ็ม2.5

“ปรากฏการณ์เอลนีโญรอบนี้ อาจกดดันภาคการผลิตและบริการที่ใช้น้ำในสัดส่วนสูง ได้แก่ อโลหะ อาหาร สิ่งทอ ท่องเที่ยว โรงพยาบาล โดยเฉพาะกับธุรกิจที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคกลาง ซึ่งมีโอกาสประสบกับสถานการณ์น้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้อย หรือน้อยจนเข้าขั้นวิกฤติ และการขาดแคลนน้ำ อาจทำให้ธุรกิจต้องลดกำลังการผลิตหรือจำกัดการให้บริการ ส่งผลตามมาให้มีการสูญเสียรายได้ และบางอุตสาหกรรม เช่น อาหาร ยังมีต้นทุนวัตถุดิบเกษตรที่จะสูงขึ้นด้วย ขณะที่ข้อกังวลเพิ่มเติมคือ ภัยแล้งข้างต้น อาจลากยาวไปถึงปี 67 ด้วยโอกาสของความรุนแรงที่อาจมากกว่าในปี 66”

You May Also Like

More From Author